รางวัลและผลงาน
นวัตกรรมอัจริยะ : ผลิตภัณฑ์ซีเมนต์โปร่งแสง
Smart Innovation : Translucent Cement Product


รองศาสตราจารย์ ดร.บุรฉัตร ฉัตรวีระ, คุณวรรณา บุญก่อเกื้อ, คุณอนุชา เอี่ยมรักษา
ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

รองศาสตราจารย์ ดร.บุรฉัตร ฉัตรวีระ
อาจารย์
D.Eng.Structural Engineering, Asian Institute of Technology 1995.
  • M.Eng.Structural Engineering, Asian Institute of Technology 1990.
  • B.Eng.Civil Engineering, Chiang Mai University 1988.
  • cburacha@engr.tu.ac.th
  • 0-2564-3001-9 ต่อ 3105
เรื่องเชี่ยวชาญ
  • Fiber Reinforced Concrete
  • High Strength Concrete
  • High Performance Concrete
  • Durability of Concrete
  • Application of New Materials
บทคัดย่อ
นวัตกรรมนี้เป็นวัสดุคล้ายปูนซีเมนต์ที่ผสมผสานวัสดุพิเศษ ใช้ทดแทนผลิตภัณฑ์ที่ทำจากปูนซีเมนต์ กระจก บล๊อกแก้ว เพื่อใช้เป็นวัสดุตกแต่งภายในหรือนอกอาคารที่ไม่จำกัดรูปแบบและสีสัน แต่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมสูง น้ำหนักเบา กำลังรับแรงอัดสูง ผิวมันวาว ทึบน้ำ แสงแดดผ่านได้แต่ไม่นำความร้อน วัสดุคล้ายปูนซีเมนต์ ผลิตจากเถ้าลอย (Fly Ash) เป็นวัสดุที่เหลือจากการเผาถ่านหินลิกไนต์จากโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า หรือฝุ่นอิฐทนไฟ (Fire Resisting Brick Dust) เป็นวัสดุที่ได้จากอุตสาหกรรมผลิตอิฐทนไฟ วัสดุทั้งสองชนิด ไม่ต้องนำไปผ่านกรรมวิธีบดอีก จากนั้นนำมาผสมสารละลายด่างในอัตราส่วนที่กำหนด แล้วปล่อยให้แข็งตัวในอุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส จะได้ผลิตภัณฑ์ ที่ใช้เถ้าลอยหรือฝุ่นอิฐทนไฟที่ทนต่อแรงอัดได้ 130-350 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ส่วนวัสดุพิเศษ ผลิตจากการผสมผสารที่เป็นของไหลกับสารเร่งการแข็งตัวของไหลในอัตราส่วนที่ กำหนดแล้วปล่อยให้แข็งตัวในอุณหภูมิห้อง จะได้ผลิตภัณฑ์ที่มีความทนทานต่อแรงอัดได้ถึง 198-914 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร สามรถนำมาประยุกต์ใช้แทนวัสดุกระจกที่แสงสามารถส่องผ่านแต่ไม่นำความร้อน และยังสามรถเปลี่ยนสีตามการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ อีกทั้งเรืองแสงในตอนกลางคืนได้อีกด้วย ดังนั้น การลดการใช้ปูนซีเมนต์และกระจกที่เกิดจากการเผาส่วนผสมต่างๆ ที่อุณหภูมิ 1,200-1,500 องศาเซลเซียส จะช่วยลดปัญหาปรกฏการณ์ก๊าซเรือนกระจกหรือภาวะโลกร้อนได้ ละยังประหยัด ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอีกทางหนึ่งด้วย

ความแปลกใหม่ นวัตกรรมอัจริยะเป็นตัวถ่ายทอดแนวความคิดในการลดต้นทุนและปัญหาสิ่งแวดล้อม แล้วบูรณาการทุกสาขาวิชา ทั้งด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม วัสดุศาสตร์ การตลาด การออกแบบผลิตภัณฑ์ ความเป็นเอกลักษณ์ไทย เป็นต้น เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ผู้ใช้สามรถออกแบบได้เองตามความต้องการ

การตลาด ทุกวันนี้สิ่งปลูกสร้างเพื่ออยู่อาศัยและสำนักงาน องค์ประกอบที่เป็นผนังจะมีพื้นที่มากที่สุด ส่วนใหญ่สร้างจากปูนซีเมนต์ ลง็อกแก้ว กระจก ไม้ ซึ่งเป็นวัสดุที่ดูดซับความร้อนได้มาก จึงมีค่าใช้จ่ายเพิ่มในการขับพลังงานความร้อนออกจากอาคาร และพลังงานความร้อนดังกล่าวก็ไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์ใดๆ เลย ผนังที่ทำจากวัสดุดังกล่าวข้างต้นจะมีสีนิ่งไม่สามรถเปลี่ยนสีสันได้ ผู้ใช้จึงมีความรู้สึกอยู่กับสิ่งเดิมๆ ตลอดเวลา ทำให้รู้สึกเครียด หงุดหงิด เกิดความเบื่อ นวัตกรรมอัจฉริยะจึงเป็นคำตอบหนึ่งในการแก้ปัญหานี้ได้
WEB LINK
Copyright © 2015 Faculty of Engineering, Thammasat University. All right reserved.